วันอังคารที่ 25 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2563

5 ปราสาทยอดนิยมในประเทศเยอรมัน


หลายท่านที่ชื่นชอบการท่องเที่ยว คงมีจำนวนไม่น้อยที่หลงใหลในเรื่องราวประวัติของปราสาทราชวังที่งดงามในแต่ละประเทศ ซึ่งที่ประเทศเยอรมันนี้เอง ที่มีปราสาทเก่าแก่หลายร้อยปีอยู่มากมาย ทาง Elite Holiday จึงขอหยิบยกตัวอย่างประวัติของปราสาทที่เป็นยอดนิยมมาให้ทุกท่านได้ชื่นชมกัน


Neuschwanstein Castle
ปราสาทนอยชวานชไตน์ สร้างขึ้นในช่วงปี 1869 ใช้เวลาในการก่อสร้าง 17 ปี โดยเจ้าของปราสาทคือพระเจ้าลุดวิกที่ 2 (Ludwig II) ในสมัยร้อยกว่าปีก่อนนั้น ปราสาทแห่งนี้ถูกยกย่องให้เป็นปราสาทที่ล้ำสมัยทั้งในเรื่องของระบบการจัดการในปราสาท ความสะดวกสบาย ระบบการผลิตน้ำร้อน น้ำเย็น ล้วนเป็นความทันสมัยของยุคนั้น นับว่าหาได้ยากในปราสาทอื่นๆ


Wartburg Castle
ปราสาทวาร์ทเบิร์ก สร้างขึ้นในปี 1067 โดยท่านเคานท์ (Ludwig der Springer) ปราสาทแห่งนี้ยังเป็นแรงบันดาลใจให้กับกษัตริย์ Ludwig II ในการสร้างปราสาทนอยชวานชไตน์ ความหรูหราของปราสาทแห่งนี้อาจไม่ได้มีมากมายเท่ากับปราสาทอื่น แต่สิ่งที่พิเศษสำหรับที่แห่งนี้คือ ร่องรอยของรูปแบบการปกครองในระบบศักดินาแห่งยุโรปกลางที่เต็มไปด้วยลักษณะของวัฒนธรรมเดิมซึ่งยังคงสภาพสมบูรณ์อยู่มาก ในปี 1999 ปราสาทแห่งนี้ถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกของ UNESCO


Heidelberg Castle
ปราสาทไฮเดลเบิร์ก ไม่มีตัวเลขชัดเจนสำหรับปีที่สร้าง แต่มีบันทึกเรื่องราวของปราสาทในช่วงปี 1200-1300 เป็นปราสาทขนาดใหญ่อีกแห่งหนึ่งที่ถูกยกย่องให้เป็นมรดกโลกของ UNESCO แต่ปราสาทส่วนใหญ่ถูกทำลายในช่วงสงครามโลก และภัยธรรมชาติต่างๆ เสียหายไป
มากพอสมควร แต่ยังคงความสวยงามให้ได้ชมกันถึงทุกวันนี้


Nuremberg Castle
ปราสาทนูเรมเบิร์ก หรือ Kaiserburg Castle เป็นสถานที่ที่ห้ามพลาดมากๆ ในส่วนของประวัติการสร้างนั้นไม่แน่ชัด แต่มีการกล่าวถึงปราสาทแห่งนี้ในยุคปี 1050 โซนรอบๆบริเวณปราสาทแห่งนี้ถือได้ว่าเป็นความยิ่งใหญ่ของในยุคปีนั้น เพราะเป็นที่พักของจักรพรรดิในยุค Holy Roman Empire และล่มสลายในปี 1806 ตกเป็นของอาณาจักรของบาวาเรีย แต่ในปัจจุบันหลายๆจุดได้ถูกทำลายไปในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 แต่ทางผู้นำของประเทศเยอรมันก็ได้ทำการบูรณะขึ้นมาใหม่เสร็จสิ้นในปี 2013 นับว่าเป็นสถานที่บอกเล่าเรื่องราวของประวัติศาสตร์ไว้มากมายเลยทีเดียว





สอบถามเพิ่มเติมได้ที่ 02-661-9399 หรือ Line: @EliteHoliday

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น